ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535 ของ พฤษภาทมิฬ

พ.ศ. 2534

  • 23 กุมภาพันธ์ - เวลา 11.30 น. คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

พ.ศ. 2535

  • 22 มีนาคม - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรม ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับหนึ่ง แต่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพติดจากสหรัฐอเมริกา
  • 27 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2535 [17]
  • 2 เมษายน - เวลา 15.40 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดประชุมรัฐสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต และทรงพระราชทานพระราชดำรัส[18]
  • 5 เมษายน - นายมนตรี พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ได้แถลงข่าวว่า พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ได้มีมติให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคงของประเทศและเศรษฐกิจ[19]
  • 7 เมษายน - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนทื่ 19 ของประเทศไทย
  • 8 เมษายน - ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
  • 17 เมษายน - มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
  • 20 เมษายน - พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีผู้ร่วมชุมนุมเกือบ100,000 คน
  • 4 พฤษภาคม -พลตรีจำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
  • 7 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกันบริเวณหน้ารัฐสภามีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกะทันหันให้มาประชุมใหม่ในวันรุ่งขึ้น
  • 8 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา แถลงถึงเหตุผลที่ต้องมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 9 พฤษภาคม - นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภาประสานให้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านร่วมกันตกลงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประการ และพลตรีจำลอง ประกาศเลิกอดอาหาร
  • 11 พฤษภาคม -พลตรีจำลอง ประกาศสลายการชุมนุมและประกาศชุมนุมใหม่อีกครั้งในวันที่ 17 พฤษภาคม หากในวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่พรรคร่วมรัฐบาลให้สัญญาว่าจะแถลงถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีความคืบหน้า
  • 15 พฤษภาคม - พรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนท่าทีเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป็นการให้สัมภาษณ์โดยพลการของ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่าจะแก้ให้มีบทเฉพาะกาล ว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งพลเอกสุจินดา ต้องดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี เสียก่อน
  • 17 พฤษภาคม - รัฐบาลจัดคอนเสิร์ตต้านภัยแล้งสกัดม็อบที่สนามกีฬากองทัพบกและวงเวียนใหญ่ โดยขนรถสุขาของกรุงเทพ ฯมาไว้ที่นี่หมด ช่วงเที่ยงคืนเริ่มเกิดการตำรวจปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม
  • 18 พฤษภาคม - ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มนำทหารจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน[20]พร้อมกับแถลงการณ์ของรัฐบาล[21],กองทัพบกและกองกำลังรักษาพระนคร[22]ให้เลิกการชุมนุม และออกประกาศอีกหลายฉบับ เช่น ประกาศ ห้ามเสนอข้อความหรือเผยแพร่รวมไปถึงพิมพ์เอกสารที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง[23]เวลาบ่ายพลตรีจำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
  • 19 พฤษภาคม - กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • 20 พฤษภาคม - พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ประกาศห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถาน เวลา 21.00น.ถึง 04.00 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม[24]
  • 20 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือพลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี ในขณะนั้น
  • 20 พฤษภาคม - กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้สถานศึกษาปิดเรียนเพิ่มเติมในจังหวัดที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปจนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม [25]
  • 21 พฤษภาคม - เวลา 12.00 น. พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ประกาศยกเลิกการห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถาน เนื่องจากสถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้ว[26]
  • 23 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535 [27]
  • 24 พฤษภาคม - พลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง แถลงการณ์ร่วมกันผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและพลเอกสุจินดา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 26 พฤษภาคม - ได้มีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี โดยยกเลิกตั้งแต่เวลา 12.00 น.ของวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535[28]
  • 10 มิถุนายน - แกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อพลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ตัดสินใจนำชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง เพื่อบริหารประเทศชั่วคราว ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดการเลือกตั้งใหม่
  • 30 มิถุนายน - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • 13 กันยายน - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

แหล่งที่มา

WikiPedia: พฤษภาทมิฬ http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cac... http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?do=form_... http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country... http://www.sahanetilaw.com/?lay=show&ac=article&Id... http://news.sanook.com/politic/politic_106505.php http://www.sarakadee.com/feature/2002/05/may_trage... http://www.youtube.com/watch?v=qz5nHpznnnc http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublic... http://www.oknation.net/blog/print.php?id=38110 http://www.oknation.net/blog/vihokpludtin/2007/05/...